สื่อและของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภท มีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การผลิตสื่อและของเล่น สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน
อ้างอิงจาก : http://babylove52.blogspot.com/2011/01/blog-post_17.html
บทความที่ 2 สื่อการสอนกับเด็กระดับปฐมวัย
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง วัสดุที่เด็กนำมาเล่นแล้วได้รับความสุข ได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้ เป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดความรู้จากการได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
•เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวสาระความรู้จากครูสู่เด็ก
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆด้วยความง่ายดาย
•เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
อ้างอิงจาก : http://krunarm.blogspot.com/2012/01/blog-post_12.html
บทความที่ 3 สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Modern Media and Playing Materials for Young Children)
สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Media and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไปแล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัว สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน
อ้างอิงจาก : http://taamkru.com/th/สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย/
บทความที่ 4 กิจกกรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรี การพูด และตามด้วยกรเขียน การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
* พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด การฟัง ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
* พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
* พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
* พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
- กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
- กิจกรรมเล่าเรื่อง
- กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
- กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
- กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
- กิจกรรมสนทนา
- กิจกรรมการเขียน
- กิจกรรมบอกชื่อ
- กิจกรรมเรียงตัวพยัญชนะ
- กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน
อ้างอิงจาก : http://soavaluc.igetweb.com/articles/442862/กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.html
ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรี การพูด และตามด้วยกรเขียน การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
* พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด การฟัง ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
* พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
* พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
* พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
- กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
- กิจกรรมเล่าเรื่อง
- กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
- กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
- กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
- กิจกรรมสนทนา
- กิจกรรมการเขียน
- กิจกรรมบอกชื่อ
- กิจกรรมเรียงตัวพยัญชนะ
- กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน
อ้างอิงจาก : http://soavaluc.igetweb.com/articles/442862/กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.html
บทความที่ 5 จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นการแสดง
บทบาทสมมติหรือผลงานทางศิลปะ เช่น การเล่นเป็นพ่อแม่ การเล่นขายของ การเล่นสร้างงานศิลปะ เป็นต้น และเด็ก4-6 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นที่เด็กสามารถสะท้อนความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น การวาดภาพและเล่าเรื่องราว การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นที่ใช้ทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ
อ้างอิงจาก : http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research4.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น